-

การเข้ามามีบทบาทของหุ่นยนต์ต่ออุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนในปัจจุบันรวมถึงเบื้องหลัง

2017-09-07

          ข่าวเด่นวันนี้: นวัตกรรมทางเทคโนโลยีมักจะช่วยปลดเปลื้องมนุษย์ให้เป็นอิสระ รถไฟด่วนที่แล่นด้วย AI (ปัญญาประดิษฐ์) ยังมีแล้ว วันนี้ข่าวอุตสาหกรรมของเดอะไทมส์ (หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ) ได้ออกรายงานที่จะเป็นประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการที่จะมี "หุ่นยนต์ซึ่งสามารถเขียนข่าวได้"

          การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ได้รับความสนใจจากพวกเรามาโดยตลอด ทั้งในเรื่องของการที่มันจะมาทดแทนกำลังแรงงานมนุษย์หรือการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ดังนั้นการนำเรื่องของหุ่นยนต์เข้าสู่วงการสื่อสารมวลชน ก็เป็นย่างก้าวสำคัญที่ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับบรรดานักข่าวชาวจีนและชาวตะวันตก ซึ่งนำไปสู่ "ทฤษฎีการปลดนักข่าว"

          ดังประโยคที่ว่าความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ข่าวว่าที่หุ่นยนต์จะสามารถเขียนข่าวได้ ทำให้นักข่าวเริ่มพัฒนาจุดแข็งของตัวเองให้แกร่งยิ่งขึ้น และจะทำให้ต่อไปอนาคตของวงการสื่อสารมวลชนย่อมสดใสยิ่งขึ้น

          คำสำคัญ: ปัญญาประดิษฐ์, หุ่นยนต์เขียนข่าว, นักข่าวหายไปไหน

          รหัสหมวดหมู่หนังสือจีนในห้องสมุด:G21 รหัสเอกสารอ้างอิง:A หมายเลขบทความ:1672-8122(2017)05-0044-02

          เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2014 เป็นวันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของสำนักข่าวซินหัว โดยมีหัวข้อข่าวที่ร้อนแรงที่สุดประจำวันคือหุ่นยนต์ที่มีนามว่า "คว่ายปี่ เสี่ยวซิน" ทำการเขียนข่าวเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่หุ่นยนต์เขียนข่าวตัวแรกของโลก แต่มันก็เป็นหุ่นยนต์ที่เขียนข่าวได้เป็นตัวแรกของประเทศจีน บทความข่าวที่หุ่นยนต์นามว่า "คว่ายปี่ เสี่ยวซิน" เป็นผู้เขียนนั้นเพิ่งได้ถูกตีพิมพ์ และยังได้กระแสการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากประชาชน โดยพูดถึงกันว่า "หุ่นยนต์" กำลังจะแย่งงานของนักข่าวแล้ว!", "นักข่าวร้องไห้สลบคาห้องน้ำ", "หุ่นยนต์มาแล้วนักข่าวหายไปไหน" ดูเหมือนว่าการปรากฏตัวขึ้นของหุ่นยนต์จะเป็น "วันสิ้นโลกของนักข่าว" แต่หุ่นยนต์จะมาแทนที่นักข่าวได้จริงหรอ?

  การปรากฏตัวและการพัฒนาการของ "หุ่นยนต์เขียนข่าว"

“หุ่นยนต์เขียนข่าว”มีชื่อเต็มว่า“หุ่นยนต์เขียนข่าวอัตโนมัติ”ตัวจริงของมันคือซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่เขียนข่าวด้วยระบบอัตโนมัติโดยใช้โปรแกรมอัลกอริทึมรวบรวมข้อมูลในหัวข้อต่างๆจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และเชื่อมโยงข้อมูลมาเขียนรายงานข่าว แม้ว่าจะยังไม่มีการระบุเวลาที่ชัดเจน แต่นักคณิตศาสตร์หลายท่านเชื่อว่านับแต่ยุคปี 1950 เป็นต้นมา หุ่นยนต์เขียนข่าวได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนของสหรัฐอเมริกาแล้ว และด้วยความได้เปรียบของเทคโนโลยีในด้านการจัดการและด้านการค้นหาข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วของหุ่นยนต์ ดังนั้นหุ่นยนต์เขียนข่าวจึงได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับบรรดานักข่าวและนำไปสู่ "ทฤษฎีการหายตัวของนักข่าว"

          เมื่อนำเอาการพัฒนาการในช่วงสิบปีมานี้ของ "หุ่นยนต์เขียนข่าว" มาวิเคราะห์ดู ในปีค.ศ. 2006 บริษัทธอมสันไฟแนนเชียลของสหรัฐอเมริกามีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาเขียนข่าวด้านการเงินและด้านเศรษฐกิจโดยอัตโนมัติ

พอมาถึงปีค.ศ. 2009 มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ“Stats Monkey”โดยใช้ซอฟต์แวร์นี้ดึงข้อมูลเกมส์เบสบอลของมหาวิทยาลัยจากเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถเขียนรายงานข่าวได้ภายใน 12 วินาที ต่อมาโอกาสของธุรกิจซอฟต์แวร์จึงถูกค้นพบอย่างรวดเร็วในปีค.ศ. 2010 โดยอาจารย์สองท่านของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น รวมทั้งอดีตผู้ดูแลและผู้บริหารระบบเครือข่ายของบริษัท ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนาร์ราทีฟไซแอน

          หลังจากนั้นบริษัทได้พัฒนาระบบที่มีชื่อเรียกว่า "ควิล" โดยเริ่มแรกมีลูกค้าเป็นลีกกีฬาระดับท๊อป10 ของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปีค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ควิลได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกีฬาประมาณหลายพันรายการให้กับลีกสูงสุด 10 อันดับแรก โดยที่ควิลสามารถรายงานเกือบตามเวลาจริงในระหว่างเกมส์ ซึ่งมีบทความจำนวนเยอะ และทำได้ตรงต่อเวลากว่าซอฟต์แวร์ที่เขียนก่อนหน้านี้ซะอีก

          นอกจากนี้ทางสำนักข่าว AP (The Associated Press) เริ่มหันมาใช้หุ่นยนต์เขียนรายงานข่าวทางด้านการเงินและทางเศรษฐกิจในเดือนกรกฎาคมของปีค.ศ. 2014 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข่าวสั้นเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินและผลการดำเนินงานของบริษัท

          อย่างไรก็ตามสำนักพิมพ์ดีทรอยต์ ฟรี เพรสในสหรัฐอเมริการายงานว่านายฟิลลิป เมเยอร์มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อเขียนรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์จราจลของเมืองตั้งแต่ปีค.ศ. 1967 จนถึงปีค.ศ. 2016 เป็นตอนที่เดอะวอชิงตันโพสต์เริ่มกล้าที่จะใช้นวัตกรรมใหม่โดยการใช้หุ่นยนต์มาเขียนรายงานข่าวทั้งข่าวเก่าและข่าวใหม่เกี่ยวกับงานกีฬาโอลิมปิกที่นครรีโอเดอจาเนโรในปีค.ศ. 2016

          ยิ่งไปกว่านั้นทางสำนักข่าวแอสโซซิเอท เต็ด เพรสมีการใช้แพลตฟอร์มเวิล์ดสมิธเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้หุ่นยนต์มาทำงานร่วมกันกับระบบกึ่งอัตโนมัติในการเขียนรายงานข่าวเป็นต้น ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการที่หุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนของชาวตะวันตกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          เมื่อเทียบกับฝั่งตะวันตก สื่อตะวันออกมีการใช้หุ่นยนต์เขียนบทความแห่งแรกคือบริษัทเทนเซ็นต์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน ปีค.ศ. 2015 บริษัทเทนเซ็นต์ไฟแนนซ์มีการเผยแพร่บทความที่เขียนโดยหุ่นยนต์ โดยบทความนี้มีชื่อว่า "ความฝันของนักเขียน" ทำให้บริษัทมีรายได้ดีขึ้นกว่า 2.0% และรายได้นั้นแตะอันดับสูงสุดในรอบ 12 เดือน

          ในงาน "ขบวนพาเหรดของกองทัพ" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ได้มีการใช้อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆเช่น "เครื่องบินบังคับสกายอีเกิ้ล", "ระบบฟลายอิ้งแคทส์", และอุปกรณ์ AI อัจฉริยะอื่นๆ มาถ่ายภาพ ฉากที่งดงามของขบวนพาเหรดของกองทัพ การถ่ายภาพในครั้งนี้ได้รับคำชมไม่ขาดปากจากคนทั่วไป

          ทางสำนักข่าวซินหัวก็ไม่ยอมน้อยหน้า เนื่องในวันที่ 7 พฤศจิกายนในปีเดียวกันนั้น สำนักข่าวซินหัวก็ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า "คว่ายปี่เสี่ยวซิน" อย่างเป็นทางการ โดยมีหน้าที่หลักคือเขียนรายงานข่าวทางการเงินและการกีฬา

          ตอนนี้มีหุ่นยนต์อีกหนึ่งตัว ชื่อว่า "เสี่ยวหมิง" ซึ่งเกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างเว็บข่าวออนไลน์ที่ชื่อจินรื่อโถวเถียวกับมหาวิทยาลัยปักกิ่ง "เสี่ยวหมิง" สามารถเขียนบทความข่าวมากกว่า 450 บทความ เมื่อปีที่แล้วในงานกีฬาโอลิมปิกที่นครรีโอเดอจาเนโร

จากหุ่นยนต์ที่มีความได้เปรียบในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่ ขนาดพวกเรายังอดตกใจไม่ได้เลย การปรากฏตัวของ "หุ่นยนต์เขียนข่าว"จะเข้ามามีผลต่ออุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนอย่างแน่นอน และอาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานตามหลัก "5 หลักการเขียนข่าว" ดังนั้นการที่จะเปลี่ยนแปลงให้หุ่นยนต์เป็นตัวการสำคัญในการผลิตข่าว จะช่วยยกระดับความรวดเร็วในการผลิตข่าวได้ ทำให้กระบวนการผลิตข่าวมีความง่ายขึ้นทั้งในส่วนของเนื้อหาข่าวและความหลากหลายรูปแบบของรายงานข่าว

ข่าวที่เขียนโดยหุ่นยนต์ไม่เพียงแต่เป็นรายงานข่าวที่มีเนื้อหาง่ายๆ ดังเช่นข้อมูลที่ถูกยกขึ้นมากล่าวข้างต้นเท่านั้น เนื่องจากล่าสุดนี้มีการพัฒนาหุ่นยนต์จน "หุ่นยนต์เขียนข่าว" นั้นสามารถหาข่าว เขียนข่าว และรายงานข่าวแทนมนุษย์ได้แล้ว โดยที่เนื้อหาข่าวค่อนข้างลึกซึ้งด้วย แต่เรื่องนี้ทำให้นักข่าวจากที่รู้สึกตื่นตระหนกในตอนแรกกลับกลายเป็นยอมรับมัน


แบ่งปัน