-

โรงงานแห่งอนาคตยังห่างไกลจากเราแค่ไหน?

2020-09-23

          เมื่อนึกถึงโรงงานแห่งอนาคต ผู้คนอาจนึกถึงสภาวะโรงงานที่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆสามารถทำงานด้วยตัวเอง และแม้แต่หุ่นยนต์เองก็มีความสามารถในการคิดได้เหมือนมนุษย์ ซึ่งถ้านำการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในช่วง 2-3 ปีนี้มาพิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่าเป็นตามนั้น คือมีการยกระดับระบบอัตโนมัติและสร้างสรรค์ระบบดิจิทัลเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 หรือคือการเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

          ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดในปีนี้ส่งผลให้การสื่อสารระหว่างบุคคลมีความยุ่งยากมากกว่าที่เคยเป็นมา ดังนั้นผู้ผลิตหลายรายจึงเริ่มคิดหาวิธีการผลิตที่ปลอดภัย ไว้ใจได้ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติและอินเตอร์เน็ตมาผสมผสานกับเทคโนโลยีเสมือนมนุษย์เพื่อช่วยงานผลิตของตน

          ในงานแสดงศูนย์รวมอุตสาหกรรมต่างๆในปีค.ศ. 2020 จะเห็นได้ชัดเจนว่าผู้พัฒนาอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศถือเอาผลงานทางด้านระบบดิจิทัล ด้านสติปัญญาและความสามารถทางปัญญาประดิษฐ์ และด้านบูรณาการต่างๆเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมในงานแสดง

          ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายอุตสาหกรรมที่มีระบบอัตโนมัติขั้นสูง เช่น การผลิตภายใต้มาตรฐาน3C และการผลิตยานยนต์เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิตกลับมีระดับความยากมากกว่ามาก

มาตรการป้องกันและความต้องการของการสร้างระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมการผลิต

          สำหรับการสร้างระบบสารสนเทศและระบบดิจิทัลนั้น ต้องสร้างให้มีประสิทธิภาพมากพอ ถึงจะสามารถยกระดับประสิทธิผลของอุตสาหกรรมการผลิต และสร้างมูลค่าให้มากขึ้นได้

          ในความเป็นจริงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงนำระบบดิจิทัลมาติดตั้งนั้น มักพบอุปสรรคต่างๆมากมาย จากการตรวจสอบของผู้พัฒนาระบบดิจิทัลพบว่า ปัญหาไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางเทคนิคเท่านั้น หากแต่เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร, ความสามารถในการดำเนินการ, การบริหารจัดการความเสี่ยง, รวมทั้งปัจจัยจากตัวผู้บริหารเองที่ทำให้การผลักดันสร้างระบบดิจิทัลนั้นยากขึ้น   

          พูดอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นคือ ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนของบทบาททางธุรกิจ, การขาดวุฒิภาวะในหน้าที่, การขาดพรสวรรค์, รูปแบบในการบริหารปัจจุบันที่ไม่ดี, วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดี, งบการเงินที่ไม่พอ, การกลัวความเสี่ยง, และการขาดแรงสนับสนุนในการจัดการ ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้การสร้างระบบดิจิทัลมีอุปสรรค

          นั่นจึงนำสู่คำถามที่ว่าจุดไหนกันแน่ที่เราควรให้ความสำคัญก่อนในการสร้างระบบดิจิทัล?

          อันที่จริงแล้ว จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัลก็คือการตระหนักรู้ถึงมูลค่า และความต้องการต่อการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ แต่ไม่ใช่การสร้างระบบดิจิทัลเพื่อระบบดิจิทัล

          ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ โดยลืมดูปัจจัยความต้องการในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งควรเป็นปัจจัยหลัก

          ทำไมความต้องการคือปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนล่ะ? 

          เนื่องจากพวกเราพบว่าปัจจุบันปัญหาของอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศค่อนข้างรุนแรง ประการแรกคือเผชิญหน้ากับแรงกดดันสองเท่าของอุตสาหกรรมการผลิตระดับล่างกับระดับบนจากต่างประเทศ ประการที่สองคือตัวองค์กรเองมีแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดการสร้างนวัตกรรมที่ไม่มากพอ

          ยิ่งปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศยังต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมการผลิตให้มีชีวิตชีวามากขึ้น คือโรงงานสร้างระบบดิจิทัลให้เกิดขึ้นจริง ยกระดับระบบอัตโนมัติ และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับการแข่งขันของอุตสาหกรรมการผลิต

ระบบความปลอดภัยในโลกดิจิทัลและมูลค่าของข้อมูล

          เมื่อพิจารณาจากเทรนด์ของเทคโนโลยีในปัจจุบัน การจัดเก็บข้อมูลของโรงงานในระบบคลาวด์เป็นสิ่งที่จะต้องเจอ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ปัญหาด้านความปลอดภัยในโลกดิจิทัลยังคงเป็นปัญหาต่อการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ให้เห็นจากข้อมูลทางสถิติของCNVDและCNNVD ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามูลค่าของอินเทอร์เน็ตมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นทุกปี   

          มูลค่าโดยรวมในปีค.ศ. 2019 มีมูลค่ามากกว่า 17,000 บาท ปัจจัยหลักที่มีผลทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นคือ การเขียนข้อมูลเกินขอบเขตที่กำหนด การส่งสคริปต์ข้ามเว็บไซต์ และการใส่ข้อมูลยืนยันตัวตนเป็นต้น   

         ในอุตสาหกรรม IoT (Internet of Things) หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง เครื่องมือช่วยเหลือสำหรับการเข้าถึงที่สำคัญที่สุดก็คือระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรม จากข้อมูลทางสถิติในปีค.ศ. 2019 แสดงให้เห็นว่ามีทั้งหมด 9 มณฑลมีระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมมากกว่า 1000 แห่งที่เปิดเผยบนเครือข่ายสาธารณะ และบางภูมิภาคมีระบบควบคุมในงานอุตสาหกรรมเกือบ 10,000 แห่ง ดังนั้นในเรื่องของระบบความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องที่ไม่สามารถเมินเฉยได้

          ยิ่งไปกว่านั้นการที่จะตระหนักถึงโรงงานแห่งอนาคต ระบบดิจิทัลคือตัวแปรสำคัญ จุดหมายปลายทางของการสร้างระบบดิจิทัลต้องกลับไปมองที่มูลค่า

          ในงานแสดงสินค้าพนักงานของบริษัทซีเมนต์กล่าวว่า "ปัจจัยสำคัญของการสร้างระบบดิจิทัลคือการมองเห็นการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของระบบดิจิทัลในกระบวนการนำเข้าข้อมูลนั้นเลือกใช้เครื่องของโรงงานระดับล่าง มีข้อมูลจำนวนมากแต่กลับมีมูลค่าไม่เยอะ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ซอฟท์แวร์ในการคำนวณ และจะต้องกรองข้อมูลไม่ว่าจะต้องการข้อมูลด่วนแค่ไหนก็ตาม นำข้อมูลที่มีมูลค่าจริงมาให้ผู้บริหารจัดการวิเคราะห์ ตัดสินใจถึงจะเป็นมูลค่าที่คงอยู่ของการเปลี่ยนแปลงระบบดิจิทัล"

"โรงงานแห่งอนาคต" ของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

          ในงานแสดงสินค้าปีค.ศ. 2020 บริษัท เอบีบี จำกัด มีการนำเสนอประเด็นสำคัญในเส้นทางสู่โรงงานแห่งอนาคต โดยสาธิตการทดสอบความสามารถในการทำงานของโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ขนถ่ายแผ่นซิลิคอนเวเฟอร์ และการคัดแยกสินค้าของระบบโลจิสติกส์เป็นต้น รวมถึงสาธิตให้กับลูกค้าถึงวิธีการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับระบบการผลิตแบบยืดหยุ่น (FMS) นอกจากนี้ยังมีการสาธิตเทคนิคการใช้สีสเปรย์โดยไม่ให้มีสีส่วนเกินในกระบวนการผลิตรถยนต์ เทคนิคการประกอบรถยนต์ด้วยเซิร์ฟเวอร์เสมือน (VPS) และการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์แบบยืดหยุ่นของรถยนต์สำหรับรถยนต์พร้อมทดสอบคุณภาพ3D

          พนักงานของบริษัทซีเมนต์สาธิตวิธีการทำด้วยระบบดิจิทัล ตั้งแต่การประเมินผล สารสนเทศ การจัดสร้างระบบข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ นอกเหนือจากนี้ ผลของการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลก็สำคัญ เช่น การแก้ไขปัญหาทางด้านสารสนเทศของโรงงานแห่งอนาคต แผนการพิมพ์เขียวบริการ การสร้างสถาปัตยกรรม การกำหนดแผนที่เส้นทาง มาตรฐานการเก็บรวบรวมข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ นวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ซอฟต์แวร์ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ นิคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง และมิติอื่นๆอีกมากมายที่วางแผนไว้สำหรับบริษัท Laojiao ในการชี้นำทิศทางและแนวคิดต่อการสร้างระบบดิจิทัล

          โซลูชั่นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์แบบครบวงจรของชไนเดอร์ที่อยู่ภายใต้ EcoStruxure TM ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ IoT (Internet of Things) หรืออินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งอย่างเต็มที่ มีสถาปัตยกรรมครอบคลุมทุกสาขาตั้งแต่อุตสาหกรรมประเภทไม่ถาวรจนถึงอุตสาหกรรมประเภทถาวร แสดงโดยแบตเตอรี่ลิเธียมและปิโตรเคมี ฝาแฝดดิจิทัลตลอดอายุการใช้งาน และแสดงการประมวลผลรวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆของกระบวนการนั้นๆ

          Bosch Rexroth เปิดตัว ctrlx Automation แพลตฟอร์มอัตโนมัติ ซึ่งทำลายขอบเขตแบบดั้งเดิม โดยช่วยนำพาความสะดวกสบายและความยืดหยุ่นมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ ตามที่เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ctrlx Automation เป็นแพลตฟอร์มใหม่ที่ถูกออกแบบมาสำหรับโรงงานแห่งอนาคต ซึ่งได้ทำลายขอบเขตดั้งเดิมระหว่างระบบควมคุมเครื่องจักร ไอที IoT จนทำให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่างๆสามารถลดเวลาการว่าจ้าง และลดปริมาณงานได้ถึง 30-50% และด้วยความช่วยเหลือของแพลตฟอร์มที่ขยายได้บนมาตรฐานเปิดและเทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมบนแอพพลิเคชัน

          บทสรุป

          โรงงานแห่งอนาคตของเราอาจไม่ได้ไซไฟเหมือนในภาพยนต์ ในกระบวนการแปลงข้อมูลเป็นระบบดิจิทัล และทำให้โรงงานมีความเป็นอัจฉริยะ เรายังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายมากมาย อย่างไรก็ตามแนวคิดในเรื่องของเครื่องจักรเสมือนคน สามารถยกระดับประสิทธิภาพการผลิต คุณภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต และยังสามารถรองรับการผลิตแบบยืดหยุ่น "ลูกค้าเลือกเองได้" อาจเป็นโรงงานที่จะได้เห็นในอนาคตอันใกล้




แบ่งปัน